ค่าคอมมิชชั่น

เช่นเดียวกับค่านายหน้า ค่าคอมมิชชั่นในที่นี้ ส่วนใหญ่จะเป็นการจ่ายเงินให้กับบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ของเต็นท์ หรือฟรีแลนซ์ที่รับค่าคอมฯจากเต็นท์ก็ตาม ซึ่งจะ ไม่มี VAT และ ต้องมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายทุกกรณี  และควรจะเก็บสำเนาบัตรประชาชนที่มีลายเซ็นต์กำกับไว้เพื่อเป็นหลักฐานประกอบเอกสารอื่นๆด้วยเสมอ ซึ่งท่านสามารถสแกนเอกสารต่างๆแล้วอัพโหลดไว้ในระบบของ New2Car เพื่อใช้เป็นหลักฐาน หรือใช้ตรวจสอบได้ต่อไป  โดยมีขั้นตอนการทำงานดังนี้

·       ไปที่โมดูล “บัญชี”

 


·       ไปที่เมนู “ผู้ขาย”  กดเลือก “บิล”

 


·       ในหน้าต่างใหม่ที่เปิดขึ้นให้กดที่ปุ่ม “สร้าง”

 


จากนั้นในหน้าที่เปิดขึ้น ให้หรอกข้อมูลตามด้านล่าง

 


-      “ผู้ขาย”  - ให้กรอกชื่อผู้รับค่าคอมฯ กรณีที่เป็นการสร้างฐานข้อมูลเป็นครั้งแรก ให้คลิกในช่องผู้ขาย 1 ครั้ง จากนั้นพิมพ์ชื่อ ระบบจะแสดงคำว่า “สร้างและแก้ไข”เป็นตัวอักษรสีฟ้า ให้คลิกที่คำนั้น 1 ครั้ง ระบบจะเปิดหน้าต่างเล็กซ้อนขึ้นมา เพื่อให้สร้างฐานข้อมูล   ให้เลือกเป็น “บุคคล” แล้วกรอกรายละเอียดให้ครบ จากนั้นกด “บันทึก”

 


กรณีที่เคยมีการบันทึกข้อมูลไว้แล้ว เมื่อคลิกในช่องผู้ขาย ให้พิมพ์ชื่อ ระบบจะดึงข้อมูลที่มีชื่อเดียวกับที่พิมพ์ไปขึ้นมาให้ท่านเลือก ให้กดเลือกรายชื่อผู้ที่จะรับค่าคอมฯคนที่ต้องการ 1 ครั้ง  

-      “วันที่ออกบิล”  - ให้กรอกวันที่จ่ายค่าคอมฯ

-      “วันกำหนดจ่าย” - ให้กรอกวันที่ต้องชำระตามที่กำหนด

จากนั้น เมื่อเลื่อนลงมาอีก ตรงด้านล่างในหน้าเดียวกัน ให้คลิกที่ “เพิ่มรายการ” กรอกข้อมูลต่างๆดังนี้ 


จากนั้นกรอกข้อมูลในช่องต่างๆตามภาพดังนี้

 


-      “ป้ายกำกับ” – พิมพ์คำว่า “ค่าคอมมิชชั่น รถ....... ทะเบียน.......... ”

-      “บัญชี” - คลิก 1 ครั้ง แล้วเลือก “ค้นหาเพิ่มเติม” จากนั้น ในหน้าต่างเล็กๆที่เปิดซ้อนขึ้น ให้พิมพ์คำว่า “คอมมิชชั่น” ในช่องค้นหาด้านบนแล้วกด enter 1 ครั้ง ระบบจะดึงหมวดบัญชีที่ชื่อค่าคอมมิชชั่นมีตัวเลขหมวด ให้คลิกเลือก 1 ครั้ง

 


-      “บัญชีวิเคราะห์” -  พิมพ์หมายเลขทะเบียนรถ

-      “ราคา” – กรอกค่าคอมฯที่เราจ่าย 

-      “ภาษี” -  ช่องนี้จะเป็นช่องที่ให้เลือกอัตราภาษี ค่าตั้งต้นของระบบคือ VAT 7% ดังนั้น ในช่องที่วงกลมไว้ ให้คลิกที่เครื่องหมาย x เพื่อปิด

-      “WHT” –   คลิกที่ช่องว่าง 1 ครั้ง แล้วเลือก “บริการ 3 %บุคคลธรรมดา”

 


-      จากนั้น กด “บันทึก”

-      กด “ยืนยัน” ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

 


จะเห็นว่า เมื่อกดบันทึก และยืนยันเรียบร้อย ระบบจะสร้างบิลที่มีหมายเลขตามภาพ

 


การหักภาษี ณ ที่จ่าย

ต่อไป จะเป็นขั้นตอนการ “ลงทะเบียนการจ่ายเงิน” เพื่อสามารถออกใบหัก ณ ที่จ่าย (Witholding Tax) เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นหลักฐานได้จากในระบบ

 

ในหน้าบิล ให้กด “ลงทะเบียนการจ่ายเงิน” เพื่อทำการตัดจ่ายยอดในระบบ


-      ในช่อง “สมุดรายวัน” ให้เลือกวิธีการจ่ายเงิน เป็นเงินสด หรือจากบัญชีธนาคารที่เราใช้ทำการจ่ายเงิน จากนั้น คลิกที่ปุ่ม “สร้างการชำระเงิน”

 


ขั้นตอนนี้ จะถือว่าเป็นการตัดชำระเงินในระบบเรียบร้อย โดยในหน้าต่างที่เปิด ให้สังเกตุแถบสีเขียวที่คาดอยู่มุมขวาด้าน เขียนว่า “ชำระเงินแล้ว” ตามภาพ

 


เลื่อนหน้านี้ลงมาด้านล่าง ให้สังเกตที่เครื่องหมาย    คลิก 1 ครั้ง

 


เมื่อกดแล้ว ในหน้าต่างเล็กที่เปิดขึ้น ให้คลิกที่ “View”

 


ในหน้าต่างใหม่ที่เปิดขึ้น กดที่ปุ่ม “แก้ไข”

 


จากนั้น ให้เลื่อนลงมาด้านล่าง ในช่อง Type of Income” คลิก 1 ครั้งที่เครื่องหมายตามลูกศรชี้  จะมีรายการแสดงขึ้น ให้เลือกที่ “ค่าจ้างทำของ”

 


เสร็จแล้วให้กด “บันทึก”

 


จากนั้น ให้กดที่ “Create withholding tax cert.”

 


เมื่อคลิกแล้ว จะเห็นตรงคำว่า “WHT cert.” ที่มุมขวามีหมายเลข 1 ที่แสดงจำนวนใบหัก ณ ที่จ่ายปรากฏขึ้น  ให้คลิกที่ปุ่มนั้น 1 ครั้ง

 


ในหน้าต่างใหม่ที่เปิดขึ้น ให้คลิกที่หมายเลขตามภาพ

 


ระบบจะเปิดหน้าต่างใหม่ เพื่อให้กรอกรายละเอียดที่จำเป็นต่างๆเพิ่มเติม ให้คลิกที่ “แก้ไข” 1 ครั้ง

 


เมื่อคลิกที่ “แก้ไข” แล้ว ในช่อง “Income Tax Form” ให้คลิกที่เครื่องหมาย ที่มุมขวาของช่อง แล้วเลือกรายการภงด. ที่ต้องการจากในรายการ

PND1 = ภงด. 1 สำหรับพนักงานเซลล์ที่มีประกันสังคม

PND3 = ภงด. 3 สำหรับพนักงานเซลล์ที่ไม่มีประกันสังคม / เซลล์ฟรีแลนซ์

 


เลือกเรียบร้อยแล้ว กด “บันทึก”

 


กด Done” อีก 1 ครั้ง ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้างใบหัก  ที่จ่าย

 


สำหรับการพิมพ์ใบหัก ณ ที่จ่าย ให้ไปที่ปุ่ม “พิมพ์” ตามภาพ แล้วเลือก WT Certificates (pdf)”

 


ระบบจะสร้างใบหัก ณ ที่จ่าย เป็นไฟล์ pdf ตามภาพด้านล่าง ที่ท่านสามารถส่งเป็นไฟล์ หรือสั่งพิมพ์ได้ตามต้องการ